วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

หลักการออกแบบและพัฒนาการนำเสนองานผ่านเว็บ

ขั้นตอนเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับพัฒนาเว็บไซต์

1.1 กำหนดเป้าหมายหลักของเว็บไซต์
- กำหนดเป้าหมายหลักของเว็บไซต์ให้ชัดเจน เพื่อเป็นตัวกำหนดขอบเขตของเว็บไซต์ ซึ่ง
สามารถกำหนดเป้าหมายเป็นกลุ่มตามความสำคัญ เพื่อให้ผู้พัฒนาได้เห็นว่าอะไรเป็นสิ่งสำคัญเป็นลำดับแรก
- ระบุวิธีวัดความสำเร็จ เพื่อประเมินผลความสำเร็จของเว็บตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งอาจวัดจากการเพิ่มยอดขายที่มากขึ้น หรือมีลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นหรือวัดจากปริมาณผู้ที่เข้ามาอ่านข้อมูล เป็นต้น
- พิจารณาทรัพยากรที่มี อันได้แก่ บุคลากร เงินทุน ระยะเวลา และเนื้อหา
1.2 กำหนดกลุ่มผู้ใช้เป้าหมาย ใคร มีลักษณะอย่างไร เพื่อจะได้ออกแบบเว็บไซต์ได้ตรงกับกลุ่มผู้ใช้หลัก
- ค้นหาสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการ เพื่อสร้างความสำเร็จดังนั้น เว็บจะต้องตอบคำถามของผู้ใช้ได้ว่า
ต้องการอะไร และจะได้ประโยชน์อะไรจากเว็บบ้าง
- ศึกษาว่ามีเว็บใดบ้างที่ให้บริการคล้ายกัน โดยสำรวจถึงเนื้อหา ลักษณะการออกแบบ เพื่อ
นำมาวิเคราะห์หาจุดอ่อน จุดแข็งของแต่ละเว็บ เพื่อนำมาประกอบการกำหนดขอบเขตและลักษณะ
การออกแบบของเว็บไซต์

ขั้นตอน และกระบวนการพัฒนาเว็บไซต์
ขั้นตอนที่ 1 : เก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับพัฒนาเว็บไซต์
1. กำหนดเป้าหมายหลักของเว็บไซต์
2. เนื้อหาสำหรับจัดทำเว็บไซต์
ขั้นตอนที่ 2 : พัฒนาเนื้อหา (Site Contact)
1. สร้างกลยุทธ์การนำเสนอข้อมูล เพื่อให้เนื้อหาบนเว็บไซต์ เป็นที่น่าสนใจ
2. กำหนดขอบเขตเนื้อหาที่จะนำเสนอ
3. จัดรูปแบบเนื้อหาข้อมูลให้ถูกต้องอย่างมีระบบ
ขั้นตอนที่ 3 : พัฒนาโครงสร้างเว็บไซต์ (Site Structure)
1. จัดทำแผนผังโครงสร้างข้อมูล
2. พัฒนาระบบเนวิเกชั่น
ขั้นตอนที่ 4 : ออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ (Visual Design)
1. ออกแบบลักษณะหน้าจอโฮมเพจ และเว็บเพจ
2. พัฒนาเว็บเพจต้นแบบที่จะใช้สำหรับการพัฒนาเว็บไซต์
3. พัฒนาเครื่องมือสำหรับ Update หรือเพิ่มเติมข้อมูลต่างๆในเว็บไซต์
ขั้นตอนที่ 5 : พัฒนาและดำเนินการ (Production and Operation)
1. ใส่ข้อมูล และเนื้อหาที่จะนำเสนอลงในหน้าจอโฮมเพจ และเว็บเพจ
2. เปิดตัวเว็บไซต์ และทำให้เป็นที่รู้จัก
3. ดูแล และพัฒนาต่อเนื่อง

หลักการสร้างเว็บไซต์
1. กำหนดจุดมุ่งหมายและกลุ่มเป้าหมาย
ก่อนที่จะทำอะไรท่านต้องมีจุดมุ่งหมายในการทำงาน การทำเว็บไซต์ก็เช่นเดียวกัน ท่านจะต้องมีจุดหมายว่า ท่านจะทำเพื่ออะไร เพื่อใครเมื่อท่านมีจุดมุ่งหมายและกลุ่มเป้าหมายที่แน่ชัดแล้ว จะทำให้ท่านมองเห็นเป้าหมายในการทำงานได้ชัดเจนขึ้น ตัวอย่างเช่น นอกจากเรื่องการถ่ายภาพและเรื่องเทคโนโลยีการศึกษาแล้ว ผมยังมีความสนใจเรื่องของช้างถ้าจะทำเว็บไซต์ผมก็จะทำเรื่องช้าง โดยมีจุดหมายเพื่อนำเสนอความรู้เกี่ยวกับช้างตั้งแต่ดึกดำบรรพ์จนถึงปัจจุบัน และกลุ่มเป้าหมายของผมคือคนที่สนใจเรื่องช้างและเรื่องธรรมชาติ เป็นต้น
2. รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ
เมื่อท่านได้เรื่องราวที่จะนำเสนอ โดยมีจุดมุ่งหมายและกลุ่มเป้าหมายแน่ชัดแล้ว ก็ถึงขั้นตอในการรวบรวมแหล่งข้อมูล ผมยกตัวอย่างเรื่องช้างอีกนะครับ ผมก็จะค้นหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้งที่เป็นเนื้อหา รูปภาพเสียง ตลอดจนภาพเคลื่อนไหว เพราะทั้งหมดสามารถนำเสนอผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตได้ พอได้ข้อมูลมากพอแล้ว ก็ไปต่อขั้นตอนต่อไปเลยครับ
3. ศึกษาและเรียงลำดับข้อมูล
เมื่อท่านได้ข้อมูลมาแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะต้องมานั่งอ่านมานั่งศึกษากันว่าส่วนไหนที่เกี่ยวข้องกันบ้าง พอจะแยกเป็นหมวดเป็นหมู่ได้หรือเปล่า เช่น ผมหาข้อมูลเรื่องช้างมาได้พอสมควร ผมก็จะมาแยกแยะ ดังนี้ ประวัติของช้างตั้งแต่ดึกดำบรรพ์, วิวัฒนาการของช้าง, ประเภทของช้าง ช้างไทย, ระโยชน์ของช้าง ฯลฯ เป็นต้น เมื่อได้หัวข้อหลักๆ แล้ว หัวข้อย่อยก็จะตามมาเองครับ
4. การออกแบบสาร (Message Design)
เมื่อท่านได้เนื้อหาและหัวข้อในการนำเสนอแล้ว ต่อไปก็๋เป็นการออกแบบเนื้อหาให้น่าสนใจ ถ้าตามหลักของเทคโนโลยีการศึกษาเราจะเรียกว่าการออกแบบสาร (Massage Design) การออกแบบสารนี้นอกจากเนื้อหาแล้ว ยังรวมไปถึงองค์ประกอบต่างในการนำเสนอด้วย เช่น สีของตัวอักษร, ภาพประกอบ, กราฟิกต่างๆ เสียง ฯลฯ เหล่านี้จะต้องสื่อความหมายไปในทางเดียวกันกับเนื้อหาด้วย นอกจากนี้ ควรจะเป็นมาตรฐานเดียวกันเช่น สีของตัวอักษร หรือ ปุ่ม (button) ในการเชื่อมโยง (link
5. ทำแผนผังของงาน (Flowchart)
ขั้นตอนนี้จะทำให้ท่านลำดับเรื่องราวได้ง่ายขึ้น และเป็นประโยชน์ในการเชื่อมโยง (link) เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกัน นักออกแบบบางคนอาจใช้กระดาษสติกเกอร์แปะไว้บนบอร์ด ตามลำดับของเนื้อหาเพราะง่ายต่อการเปลี่ยนแปลง หรืออาจจะใช้วิธีการเขียนบนไวท์บอร์ดด้วยปากกาที่ลบได้
6. การเขียน (Storyboard)
หากท่านเคยทำงาน Presentation มาก่อนก็คงจะทราบว่าประโยชน์ของ Storyboard นั้นมีมากมาย เพราะจะทำให้มองเห็นภาพหน้าจอได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และถ้าหากท่านใดมีฝีไม้ลายมือในเชิงศิลปะแล้ว ก็๋จะทำให้การทำงานง่ายขึ้นไปอีก เมื่อครั้งผมทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นจะมีกระดาษ Storyboard สำหรับออกแบบโดยเฉพาะและว่ากันเป็น Pixel เลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม บางท่านอาจจะมองภาพไว้ใจแล้วนั่งทำหน้าจอเลยก็ได้
7. ลงมือทำ
งานการใดๆ ถ้าไม่ลงมือทำ ก็ย่อมไม่เห็นผลสัมฤทธิ์ ดังนั้นขั้นตอนนี้ ไม่ขอกล่าวมากนัก ส่วนเครื่องไม้เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ จะไปว่ากันใน หัวข้อ "เครื่องมือในการสร้างเว็บเพจ" เพราะหน้านี้ยาวเกินทฤษฎีแล้ว
8. ทดสอบและประเมินผล
หลังจากที่ท่านทำเสร็จทุกขั้นตอนของการทำเว็บเพจแล้ว ก็ควรจะมีการทดสอบและประเมินผลจากตัวท่านเองก่อน โดยสมมติว่าท่านเองเป็นผู้ชมคนหนึ่ง ควรดูการเชื่อมโยงว่า สีเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกหน้าและใช้การได้หรือเปล่า ภาพหรือกราฟิกตรงตามเนื้อหาหรือไม่ จากนั้นให้แนะนำเพื่อนฝูงให้ดูและช่วยตรวจสอบอีกที หากพบข้อบกพร่องก็ควรแก้ไข ก่อนจะประชาสัมพันธ์ต่อไป

เริ่มต้นกับการสร้างเว็บไซต์
ก่อนอื่น ๆ เรา มาทำความรู้จัก กับ "Web Presentation" กันก่อน จะว่าไปแล้วกระบวนการจัดสร้างเว็บไซต์นั้นก็ไม่ได้แตกต่างจากการนำเสนอผ่านสื่ออื่นๆ เท่าใดนัก ท่านใดที่เคยทำงาน Presentation หรือผ่านการทำสื่อประเภทต่างๆ เช่นการทำสไลด์ การทำรายการโทรทัศน์ การนำเสนอผลงานด้วยโปรแกรม PowerPoint หรือการทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(Computer-Assisted Instruction : CAI) สิ่งเหล่านี้ล้วนมีกระบวนการไม่แตกต่างกันมากมายเท่าใดนัก การนำเสนอบนเว็บนั้นก็จัดเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของกระบวนการสื่อสาร เราลองมาดูนะว่ารูปแบบและกระบวนการสื่อสารนั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง
กระบวนการสื่อสารมีองค์ประกอบ 4 ส่วน ดังนี้
1. ผู้ส่งสาร (Sender) ซึ่งก็คือเรานั่นเอง
2. สาร (Message) หมายถึง สิ่งที่เราต้องการนำเสนอ
3. สื่อหรือช่องทาง (Medium/Channel) หมายถึง ตัวกลางหรือสิ่งที่จะนำสารที่เราต้องการต้องการนำเสนอไปสู่ผู้รับ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ต่างๆ และในที่นี้ก็คงจะเป็น Web Site นั่นเอง
4. ผู้รับ (Receiver) ก็คือผู้รับสาร และการนำเสนอผ่าน WWW นั้นผู้รับสาร เรามีมากมายทั่วโลกที่จะเข้ามาชม Web ของเรา ดังนั้นในการออกแบบและจัดทำนั้นเราควรมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ซึ่งจะทำให้เรามีเป้าหมายในการทำงาน
http://blog.sanook.com/DesktopModules/MIH/Blog/ http://www.kradandum.com/thesis/thesis-02-4.htm

การวิเคราะห์และประเมินผลงานสื่อนำเสนอแบบต่างๆ

การประเมินผลสื่อการเรียนการสอน
- ความหมายของการประเมินผลสื่อการเรียนการสอน
- การตรวจสอบสื่อการเรียนการสอน
การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural)
การตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualitative)
- การทดสอบสื่อ
การประเมินผลสื่อการเรียนการสอน หมายถึง การวัดผลสื่อการเรียนการสอนมาตีความหมาย (Interpretation) และตัดสินคุณค่า (Value judgment) เพื่อที่จะรู้ว่า สื่อนั้นทำหน้าที่ตาม วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้แค่ไหน มีคุณภาพดีหรือไม่เพียงใด มีลักษณะถูกต้องตามที่ต้องการ หรือไม่ประการใด
การตรวจสอบสื่อการเรียนการสอน
การตรวจสอบแบ่งออกได้เป็นสองส่วนใหญ่ คือ

การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural)
การตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualitative)
การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural)
1. ลักษณะสื่อ
1.1 ลักษณะเฉพาะตามประเภทของสื่อ
1.2 มาตรฐานการออกแบบ (Design Standards)
1.3 มาตรฐานทางเทคนิควิธี (Technical Standards)
1.4 มาตรฐานความงาม(Aesthetic standards)

ผู้ตรวจสอบลักษณะสื่อการเรียนการสอน ได้แก่ นักโสตทัศนศึกษา
นักเทคโนโลยีการศึกษา
2. เนื้อหาสาระ
เนื้อหาที่ปรากฏในสื่อจะต้องครบถ้วนและถูกต้อง ความถูกต้องนี้จะถูกต้องตามเนื้อหารสาระจริง ซึ่งอาจบอกขนาด ปริมาณ และหรือเวลา เป็นต้น สาระ หรือมโนทัศน์ที่สำคัญต้องปรากฏอย่างชัดเจน

ผู้ตรวจสอบเนื้อหาสาระ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญในเนื้อหาสาระเฉพาะ และครูผู้สอนกลุ่มเป้าหมายเป็นจำนวนอย่างน้อย 3 คน
การตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualilative basis)
เครื่องมือ
ในการทดสอบคุณภาพสื่อการเรียนการสอน เครื่องมือที่นิยมใช้กันมา
มี 2 แบบ คือ
1. แบบทดสอบ การพัฒนาแบบทดสอบมีขั้นตอนดังนี้
กำหนดจำนวนข้อของแบบทดสอบ
พิจารณากำหนดน้ำหนักวัตถุประสงค์แต่ละข้อของการพัฒนาสื่อ แล้วคำนวณจำนวนข้อทดสอบสำหรับวัตถุประสงค์แต่ละข้อ
สร้างข้อสอบตามจำนวนที่กำหนดไว้ในข้อ 1.2 โดยสามารถวัดตามเกณฑ์ที่กำหนดได้ในวัตถุประสงค์แต่ละข้อ โดยปกติควรจะสร้างข้อสอบสำหรับวัดแต่ละวัตถุประสงค์ให้มีจำนวนข้ออย่างน้อยที่สุดเป็น 2 เท่าของจำนวนข้อสอบที่ต้องการเพื่อการคัดเลือกข้อที่เหมาะสมหลังจากที่ได้นำไปทดลองใช้และวิเคราะห์ข้อสอบ
พิจารณาตรวจเพื่อความถูกต้อง
นำแบบทดสอบไปทดลองใช้กับตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย
วิเคราะห์แบบทดสอบโดยตรวจค่าความเชื่อมั่น ความตรงเชิงเนื้อหา และค่าความยากง่าย
คัดเลือกข้อสอบให้มีจำนวนข้อตามความต้องการ
2. แบบสังเกต สิ่งสำคัญที่ควรสังเกต และบันทึกไว้เป็นรายการในแบบสังเกต คือ
ความสามารถเข้าใจได้ง่าย (Understandable)
การใช้ประสาทสัมผัสได้ง่าย เช่น มีขนาด อ่านง่าย หรือดูง่าย คุณภาพของ
เสียงดี ฟังง่าย ฯลฯ
การเสนอตัวชี้แนะ (Cuing) สำหรับสาระสำคัญเด่น ชัดเจน สังเกตง่าย (Noticable)
ระยะเวลาที่กำหนดเหมาะสม
วิธีการใช้ที่ง่าย สะดวก ไม่ยุ่งยาก หรือสลับซับซ้อน
ผู้เรียนสนใจ และติดตามการแสดงของสื่อโดยตลอด
ตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย
ได้แก่ ผู้เรียน หรือบุคคลที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายซึ่งคัดเลือกมาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างตามจำนวนที่ต้องการในแต่ละครั้งของการทดสอบ
http://mediatalkblog.wordpress.com/2008/03/15/media-of-wars/edu.swu.ac.th

ขนมน้ำดอกไม้


ส่วนผสม
-แป้งข้าวเจ้า 1 1/4 ถ้วยตวง
-แป้งเท้ายายม่อม 1 ช้อนโต๊ะ
-น้ำตาล 1 ถ้วยตวง
-น้ำลอยดอกมะลิ 1 ถ้วยตวง
-น้ำเปล่า 1 ถ้วยตวง

วิธีทำ
1.ผสมแป้งข้าวเจ้าและแป้งท้าวฯ เข้าด้วยกันใส่น้ำลอยดอกมะลิทีละน้อยนวดจนแป้งเข้ากันดี
2.ผสมน้ำกับน้ำตาลตั้งไฟเคี่ยวน้ำเชื่อม แล้วใส่ลงในแป้งนวดให้เป็นเนื้อเดียวกัน
3.เรียงถ้วยตะไลในรังถึง นึ่งด้วยไฟแรงจนน้ำเดือดร้อนจัดจึงตักแป้งหยอดลงในถ้วยตะไลให้เต็มถ้วย ปิดฝานึ่ง ต่ออีกประมาณ 10 นาที เมื่อขนมสุกดียกลงพักไว้ให้เย็นแคะขนมออกจากถ้วย
http://www.skn.ac.th/skl/project/swee65/sn25.htm

ขนมอาลัว


ส่วนผสม
-แป้งสาลี 2 ถ้วยตวง
-หัวกะทิ 2 ถ้วยตวง
-น้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวง
-น้ำใบเตย 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
1.ร่อนแป้งสาลี 2 ครั้ง
2.ใส่น้ำตาลทรายลงผสมกับแป้งสาลีที่ร่อนไว้เคล้าให้เข้ากัน
3.ใส่หัวกะทิทีละน้อยนวดให้น้ำตาลละลาย จนหัวกะทิหมด คนให้เข้ากันใส่น้ำใบเตย
3.ใช้ผ้าขาวบางกรองส่วนผสมใส่ในกระทะทอง ตั้งไฟกลางกวนเร็วๆ ให้แป้งสุก
4.เมื่อแป้งสุกแล้วพักไว้สักครู่ใส่กรวยบีบหรือหยอดตามต้องการนำอบด้วยไฟอ่อนจนผิวนอกของขนมแห้ง ยกลงจากเตารอให้เย็นแซะออกจากถาดจัดใส่ภาชนะ
http://www.skn.ac.th/skl/project/swee65/sn49.htm

ขนมสำปันนี


ส่วนผสม
-แป้งสาลี 1/2 ถ้วยตวง
-แป้งมันคั่วสุก 1/4 ถ้วยตวง
-หัวกะทิ 2 ถ้วยตวง
-น้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวง

วิธีทำ
1.ผสมหัวกะทิกับน้ำตาลทราย ใส่ลงในกระทะทองตั้งไฟอ่อนเคี่ยวให้น้ำตาลละลายเข้ากับกะทิ แล้วยกลง
2.ใส่แป้งสาลีลงในกะทิเคี่ยวตั้งไฟอ่อนๆ กวนให้แป้งสุกและกะทิแห้งขนมจับตัวเป็นก้อนล่อนออกจากกระทะ ยกลงจากเตา ใช้พายคนให้คลายร้อน
3.ตักขนมอัดลงในพิมพ์ที่โรยด้วยแป้งมันไว้ก่อนแล้ว จึงเคาะขนมจากพิมพ์ใส่ถาด
http://www.skn.ac.th/skl/project/swee65/sn48.htm

ขนมข้าวเหนียวแก้ว


ส่วนผสม
-ข้าวเหนียว 1 ถ้วยตวง
-หัวกะทิ 3/4 ถ้วยตวง
-น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง
-เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
-น้ำใบเตย 1/2 ถ้วยตวง
-น้ำปูนใส 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
1.ซาวข้าวเหนียวให้สะอาดวางลงบนรังถึงที่ปูด้วยผ้าขาวบาง ตั้งบนน้ำเดือด นึ่งจนข้าวเหนียวสุก
ใส่น้ำใบเตยผสมกับหัวกะทิคนให้เข้ากับน้ำปูนใส แล้วกรองด้วยผ้าขาวบางใส่เกลือป่นคนให้เกลือละลาย ใส่ชามอ่างใบใหญ่ๆ
2.เมื่อข้าวเหนียวสุกดีตักข้าวใส่ชามกะทิเคล้าเร็วๆ ให้ข้าวเหนียวคลุกกับกะทิให้ทั่วปิดปากชามไว้ประมาณ 10-20 นาที ให้ข้าวเหนียวอมน้ำไว้จนกะทิแห้ง
3.ใส่น้ำตาลลงในข้าวเคล้าเบาๆ ให้ทั่วกัน แล้วเทใส่กระทะทองตั้งไฟอ่อนๆ คลุกจนน้ำตาลละลายจับเม็ดทั่วยกลงจากเตา จัดใส่ภาชนะให้สวยงาม
http://www.skn.ac.th/skl/project/swee65/sn14.htm

ขนมทองหยอด


ส่วนผสม
-ไข่เป็ด 20 ฟอง
-แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วยตวง
-น้ำตาลทราย 5 ถ้วยตวง
-น้ำลอยดอกไม้ 5 ถ้วยตวง

วิธีทำ
1.แยกไข่แดงและไข่ขาออกจากกัน ใช้แต่ไข่แดงตีให้ไข่แดงฟูขึ้นมากๆ แล้วใส่แป้งข้าวเจ้าคนเร็วๆให้เข้ากัน
2.ผสมน้ำลอยดอกไม้กับน้ำตาลทรายตั้งไฟแรงให้น้ำตาลเดือดพล่านเคี่ยวประมาณ 10-20 นาทีให้น้ำเชื่อมข้น แบ่งส่วนหนึ่งไว้สำหรับแช่ทองหยอดที่สุกแล้วส่วนที่เหลือตั้งไฟไว้สำหรับหยอดทองหยอด
3.ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางตักแป้งและใช้นิ้วหัวแม่มือสะบัดแป้งลงในกระทะที่ตั้งน้ำเชื่อมไว้ททำวิธีนี้จนเต็มกระทะ พอแป้งสุกลอยตัวตักขึ้นพักไว้
http://www.skn.ac.th/skl/project/swee65/sn9.htm

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552

แนะนำตัว



ชื่อ นางสาวปนัดดา ธุระธรรม

รหัสนิสิต 51010511014

สาขา วิทยาศาสตร์ทั่วไป

คณะศึกษาศาสตร์

ขนมลูกชุบ


ลูกชุบ
ส่วนผสม
1.
ถั่วเขียวเลาะเปลือก 1 1/3 ถ้วยตวง
2.น้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวง
3.หัวกะทิ 2 ถ้วยตวง
4.วุ้นผง 1 ช้อนโต๊ะ
5.น้ำเปล่า 1 ถ้วยตวง
วิธีทำ
1. แช่ถั่วเขียวประมาณ 1-2 ชั่วโมง นึ่งให้สุกนุ่ม แล้วบดให้ละเอียด
2. หัวกะทิตั้งไฟอ่อนๆ ใส่นำตาลทรายลงเคี่ยวให้นำตาลละลายหมด ใส่ถั่วลงกวนกับกะทิตั้งไฟอ่อนๆ กวนให้แห้งจนถั่วล่อนออกจากกระทะ
3. เทถั่วที่กวนได้ที่แล้วลงในถาดหรือชามพักไว้ให้เย็น
4.ปั้นถั่วเป็นรูปผลไม้เล็กๆ ตามต้องการ แล้วระบายสีผลไม้ที่ปั้นไว้ให้เหมือนจริงพักไว้ให้สีแห้ง
5.ผสมผงวุ้นกับน้ำเปล่าใส่หม้อตั้งไฟอ่อนๆ จนวุ้นละลายหมดยกลง วางพักไว้สักครู่
6.นำผลไม้ที่ระบายสีไว้ ชุบวุ้นให้ทั่ว พักไว้ให้แห้งแล้วชุบอีก 2 ครั้ง ปล่อยให้แห้งจึงนำไปตกแต่งให้สวยงาม

http://www.skn.ac.th/skl/project/swee65/sn1.htm

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ประวัติและความเป็นมาของขนมไทย

ขนมไทยนั้นเกิดขึนมานานแล้วตั้งแต่ประเทศ
ไทยยังเป็นสยามประเทศได้ติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ
เช่น จีน อินเดีย มาตั้งแต่สมัยสุโขทัยโดยส่งเสริมการขายสินค้าซึ่งกันและกัน ตลอดจนแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้าน อาหารการกินร่วมไปด้วย ต่อมาในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ได้มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง ไทยได้รับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่าง ๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น วัตถุดิบที่หาได้ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนการบริโภคนิสัยแบบไทย ๆ จนทำให้คนรุ่นหลัง ๆ แยกไม่ออกว่าอะไรคือขนมที่เป็นไทยแท้ ๆ และอะไรดัดแปลงมาจากวัฒนธรรมของชาติอื่น เช่น ขนมที่ใช้ไข่ และขนมที่ต้องเข้าเตาอบ ซึ่งเข้ามา ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จากคุณท้าวทองกีบม้าภรรยาเชื้อชาติญี่ปุ่น สัญชาติโปรตุเกส ของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ผู้เป็นกงศุลประจำประเทศไทยในสมัยนั้น ไทยมิใช่เพียงรับทองหยิบ ทองหยอด และฝอยทองมาเท่านั้น หากยังให้ความสำคัญกับขนมเหล่านี้โดยใช้เป็นขนมมงคลอีกด้วย ส่วนใหญ่ตำรับขนม ที่ใส่มักเป็น "ของเทศ" เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ทองหยอดจากโปรตุเกส มัสกอดจากสกอตต์ ขนมไทยเป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยอย่างหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันดี เพราะเป็นสิ่งที่แสดงให้ เห็นถึงความละเอียดอ่อนประณีตในการทำ ตั้งแต่วัตถุดิบ วิธีการทำ ที่กลมกลืน พิถีพิถัน ในเรื่องรสชาติ สีสัน ความสวยงาม กลิ่นหอม รูปลักษณะชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทาน ขนมแต่ละชนิด ซึ่งยังแตก ต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้น ๆ ขนมไทยที่นิยมทำกันทุก ๆ ภาคของประเทศไทย ในพิธีการต่าง ๆ เนื่องในการทำบุญเลี้ยงพระ ก็คือขนม จากไข่ และมักถือเคล็ดจากชื่อและลักษณะของขนมนั้น ๆ
 

ตำรับขนมไทย Copyright © 2009 Cookiez is Designed by Ipietoon for Free Blogger Template