วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การวิเคราะห์และประเมินผลงานสื่อนำเสนอแบบต่างๆ

การประเมินผลสื่อการเรียนการสอน
- ความหมายของการประเมินผลสื่อการเรียนการสอน
- การตรวจสอบสื่อการเรียนการสอน
การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural)
การตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualitative)
- การทดสอบสื่อ
การประเมินผลสื่อการเรียนการสอน หมายถึง การวัดผลสื่อการเรียนการสอนมาตีความหมาย (Interpretation) และตัดสินคุณค่า (Value judgment) เพื่อที่จะรู้ว่า สื่อนั้นทำหน้าที่ตาม วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้แค่ไหน มีคุณภาพดีหรือไม่เพียงใด มีลักษณะถูกต้องตามที่ต้องการ หรือไม่ประการใด
การตรวจสอบสื่อการเรียนการสอน
การตรวจสอบแบ่งออกได้เป็นสองส่วนใหญ่ คือ

การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural)
การตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualitative)
การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural)
1. ลักษณะสื่อ
1.1 ลักษณะเฉพาะตามประเภทของสื่อ
1.2 มาตรฐานการออกแบบ (Design Standards)
1.3 มาตรฐานทางเทคนิควิธี (Technical Standards)
1.4 มาตรฐานความงาม(Aesthetic standards)

ผู้ตรวจสอบลักษณะสื่อการเรียนการสอน ได้แก่ นักโสตทัศนศึกษา
นักเทคโนโลยีการศึกษา
2. เนื้อหาสาระ
เนื้อหาที่ปรากฏในสื่อจะต้องครบถ้วนและถูกต้อง ความถูกต้องนี้จะถูกต้องตามเนื้อหารสาระจริง ซึ่งอาจบอกขนาด ปริมาณ และหรือเวลา เป็นต้น สาระ หรือมโนทัศน์ที่สำคัญต้องปรากฏอย่างชัดเจน

ผู้ตรวจสอบเนื้อหาสาระ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญในเนื้อหาสาระเฉพาะ และครูผู้สอนกลุ่มเป้าหมายเป็นจำนวนอย่างน้อย 3 คน
การตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualilative basis)
เครื่องมือ
ในการทดสอบคุณภาพสื่อการเรียนการสอน เครื่องมือที่นิยมใช้กันมา
มี 2 แบบ คือ
1. แบบทดสอบ การพัฒนาแบบทดสอบมีขั้นตอนดังนี้
กำหนดจำนวนข้อของแบบทดสอบ
พิจารณากำหนดน้ำหนักวัตถุประสงค์แต่ละข้อของการพัฒนาสื่อ แล้วคำนวณจำนวนข้อทดสอบสำหรับวัตถุประสงค์แต่ละข้อ
สร้างข้อสอบตามจำนวนที่กำหนดไว้ในข้อ 1.2 โดยสามารถวัดตามเกณฑ์ที่กำหนดได้ในวัตถุประสงค์แต่ละข้อ โดยปกติควรจะสร้างข้อสอบสำหรับวัดแต่ละวัตถุประสงค์ให้มีจำนวนข้ออย่างน้อยที่สุดเป็น 2 เท่าของจำนวนข้อสอบที่ต้องการเพื่อการคัดเลือกข้อที่เหมาะสมหลังจากที่ได้นำไปทดลองใช้และวิเคราะห์ข้อสอบ
พิจารณาตรวจเพื่อความถูกต้อง
นำแบบทดสอบไปทดลองใช้กับตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย
วิเคราะห์แบบทดสอบโดยตรวจค่าความเชื่อมั่น ความตรงเชิงเนื้อหา และค่าความยากง่าย
คัดเลือกข้อสอบให้มีจำนวนข้อตามความต้องการ
2. แบบสังเกต สิ่งสำคัญที่ควรสังเกต และบันทึกไว้เป็นรายการในแบบสังเกต คือ
ความสามารถเข้าใจได้ง่าย (Understandable)
การใช้ประสาทสัมผัสได้ง่าย เช่น มีขนาด อ่านง่าย หรือดูง่าย คุณภาพของ
เสียงดี ฟังง่าย ฯลฯ
การเสนอตัวชี้แนะ (Cuing) สำหรับสาระสำคัญเด่น ชัดเจน สังเกตง่าย (Noticable)
ระยะเวลาที่กำหนดเหมาะสม
วิธีการใช้ที่ง่าย สะดวก ไม่ยุ่งยาก หรือสลับซับซ้อน
ผู้เรียนสนใจ และติดตามการแสดงของสื่อโดยตลอด
ตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย
ได้แก่ ผู้เรียน หรือบุคคลที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายซึ่งคัดเลือกมาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างตามจำนวนที่ต้องการในแต่ละครั้งของการทดสอบ
http://mediatalkblog.wordpress.com/2008/03/15/media-of-wars/edu.swu.ac.th

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

ตำรับขนมไทย Copyright © 2009 Cookiez is Designed by Ipietoon for Free Blogger Template